แนวทางสากลในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

โดย

 

การจัดเก็บภาษีในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล Global Anti-Base Erosion Proposal (Pillar Two)


ในปี 2562 กรอบความร่วมมือขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic
Co-operation and Development: OECD) ที่เรียกว่า Inclusive Framework (ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 Inclusive Framework) ได้มีความตกลงร่วมกันที่จะดำเนิน
โครงการศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล (Programme of Work for Addressing the Tax Challenges
of the Digitalisation of the Economy) โดยโครงการนี้แบ่งหัวข้อการศึกษาเป็น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ 

1. การแบ่งสัดส่วนสิทธิในการจัดเก็บภาษีระหว่างรัฐ (Pillar One) 

2. การพัฒนาเครื่องมือในการแก้ปัญหาการถ่ายโอนกำไรระหว่างประเทศของบริษัทข้ามชาติ (Pillar Two หรือเรียก
อีกอย่างว่า “Global Anti-Base Erosion: Globe proposal”)

องค์ประกอบของ Pillar Two
จากการศึกษาของ Inclusive Framework ได้นำเสนอการแก้ปัญหาในกรณีการถ่ายโอนกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ
หรือไม่จัดเก็บภาษีเลย คือการกำหนดให้มีอัตราภาษีขั้นต่ำที่บริษัทหนึ่งๆ ต้องเสีย (Minimum Tax Rate) บนหลักการ
2 ประการ ได้แก่ 
(1) หลักการนำเงินได้ของสาขาของบริษัทในต่างประเทศ หรือของบริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจควบคุม (Controlled Entity)
มาเป็นเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี หากปรากฏว่าเงินได้นั้นเสียภาษีในอัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate) ต่ำกว่า
อัตราภาษีขั้นต่ำ (Income Inclusion Rule) และ
(2) หลักการจัดเก็บภาษีจากค่าตอบแทนที่ผู้เสียภาษีชำระเพื่อกัดกร่อนฐานภาษีของตน (Tax on Base Eroding Payments)

(1) หลักการนำเงินได้ของสาขาของบริษัทในต่างประเทศ หรือของบริษัทอื่นที่บริษัทมีอำนาจควบคุม (Controlled Entity)
มาเป็นเงินได้ของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
(1.1) Income Inclusion Rule
(1.2) Switch - Over Rule

(2) หลักการจัดเก็บภาษีจากค่าตอบแทนที่ผู้เสียภาษีชำระเพื่อกัดกร่อนฐานภาษีของตน (Tax On Base Eroding Payments)
องค์ประกอบอีกประการหนึ่งของ Pillar Two คือ การจัดเก็บภาษีจากค่าตอบแทนที่ผู้เสียภาษีชำระ โดยประสงค์ที่จะกัดกร่อน
ฐานภาษีของตน (Tax on Base Eroding Payments) ในหลักการนี้ อาจแบ่งออกเป็นหลักการย่อย 2 ประการ ได้แก่ 
(2.1) Under Taxed Payments Rule
(2.2) Subject to Tax Rule

หลักดังกล่าว สามารถปรับใช้ได้ โดยการแก้ไขขอบเขตหรือกระบวนการในการใช้สิทธิประโยชน์ตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ในข้อบทดังต่อไปนี้
1) ข้อ 7 ของ OECD Model Convention: การจำกัดภาษีที่เก็บจากกำไรธุรกิจของผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ เว้นแต่กำไรดังกล่าวเป็น
กำไรของสถานประกอบการถาวร
2) ข้อ 9 ของ OECD Model Convention: การทำ Corresponding Adjustment กรณีมีการปรับปรุงรายได้หรือรายจ่าย
เนื่องจากการกำหนดราคาโอนโดยประเทศคู่สัญญา
3) ข้อ 10 ของ OECD Model Convention: การจำกัดภาษีที่เก็บจากเงินปันผลในประเทศแหล่งเงินได้
4) ข้อ 11-13ของ OECD Model Convention: การจำกัดภาษีที่เก็บจากดอกเบี้ย ค่าแห่งสิทธิ และผลได้จากทุน
ในประเทศแหล่งเงินได้
5) ข้อ 21 ของ OECD Model Convention: การแบ่งสัดส่วนสิทธิในการจัดเก็บภาษีจากเงินได้อื่นๆ ให้กับประเทศถิ่นที่อยู่

ดังนั้นบทสรุป
การบังคับใช้หลักการทั้ง 2 ประการข้างต้น อาจทำได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในและอนุสัญญาภาษีซ้อน
ประกอบกับหลักเกณฑ์ในการป้องกันการซ้ำซ้อนของภาษี กรณีประเทศต่างๆ อ้างสิทธิในการใช้อำนาจจัดเก็บภาษีขั้นต่ำ
ตามหลักการดังกล่าวทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ข้อเสนอของ Inclusive Framework ข้างต้น เป็นการกำหนดหลักการใหม่ ซึ่ง
แตกต่างจากหลักการจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศในปัจจุบัน การจัดเก็บอัตราภาษีขั้นต่ำนี้ จะช่วยลดแรงจูงใจของผู้เสียภาษี
ในการถ่ายโอนกำไรจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการลดการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดยการใช้
อัตราภาษีเป็นเครื่องมือในการจูงใจนักลงทุนเข้าไปลงทุนในประเทศของตนอีกด้วย.

   
      บางส่วนจากบทความ “แนวทางสากลในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 465 เดือน มิถุนายน 2563




Tax Talk : IT for Accountant : Tax Talk
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มิถุนายน 2563



FaLang translation system by Faboba