“ค่าชดเชยพิเศษ” จากการย้ายสถานประกอบกิจการ

โดย

 

 

ในปี 2562 มีการปรับปรุงค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการอีกครั้ง โดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มีการขยายความหมายของ “การย้ายสถานประกอบกิจการ” ให้กว้างขึ้น กำหนดหลักเกณฑ์
การปิดประกาศแจ้งก่อนย้ายสถานประกอบกิจการ โดยมีรายละเอียดเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน โดยให้นายจ้างเป็นฝ่ายยื่นคำร้อง เป็นต้น 

กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 120 นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปยังสถานที่
อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ
สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30วันก่อนวันย้าย
สถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไป
สถานที่ใดและเมื่อใด
ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว
ล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ
เท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิต ตามปกติของลูกจ้างหรือ
ครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็น
หนังสือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศ
ตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
พิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118
ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสอง หรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสาม ให้แก่ลูกจ้าง
ภายใน 7 วันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุดในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้าง
ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ”

มาตรา 120/1 เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคำร้องตามมาตรา 120 วรรคห้าแล้ว เห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิ
ได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้าง
จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วันนับแต่วันที่
นายจ้างทราบคำสั่ง 

มาตรา 120/2 ในกรณีที่นายจ้างได้อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด
ตามมาตรา 120/1 วรรคสี่ และได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ของศาลแล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็น
อันระงับไป



  บางส่วนจากบทความ  “ค่าชดเชยพิเศษ” จากการย้ายสถานประกอบกิจการ”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 215 เดือนพฤศจิกายน 2563



กฎหมายแรงงาน : กฎหมายคุ้มครองแรงงาน : พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น
วารสาร : HR Society Magazine พฤศจิกายน 2563


FaLang translation system by Faboba