108 คำถามชาวบัญชี

โดย

 



สวัสดีค่ะ ฤกษ์งามยามดี เปิดศักราช 2564 กับคอลัมน์ที่จะมาพูดคุยไขปัญหาข้อข้องใจให้กับนักบัญชี  “108 คำถาม
นักบัญชี สำหรับประเด็นคำถามในครั้งนี้ คือ แนวทางการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาศักยภาพนักบัญชี และการเตรียมความพร้อม
สำหรับการสอบผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่จะมาถึงในเดือนกุมภาพันธ์นี้  แต่ละประเด็นคำตอบและคำแนะนำจะเป็นอย่างไร
ไปติดตามกันเลยค่ะ

Q : ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักบัญชีได้อย่างไรบ้าง ?
A : บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันไม่ได้ทำงานเพียงแค่การบันทึกบัญชีเดบิตหรือเครดิตเท่านั้น แต่มีการนำ
เทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์มาลงบันทึกบัญชีแทนมากขึ้น ในองค์กรขนาดใหญ่บางแห่งมีการจัดตั้งหน่วยงาน
Shared Service Centre และพัฒนา Software เพื่อรองรับการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงควรยกระดับตัวเองมาเป็นคู่คิดนักธุรกิจ เพื่อช่วยงานวิเคราะห์เพื่อการบริหารองค์กร เช่น ทำงาน
ในด้านวิเคราะห์ตัวเลขธุรกิจ มีความสามารถตอบตัวเลขสำคัญในธุรกิจว่าสาเหตุหรือสถานการณ์ช่วงไหนที่ทำให้
ผลประกอบการของบริษัทฯ ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้
เทคโนโลยีไม่สามารถเข้ามาแทนที่ตัวบุคคลได้
นักบัญชีควรใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และลดทอนขั้นตอนการทำงาน
ให้กับนักบัญชีที่มีหน้าที่ทำให้ผู้บริหารเข้าใจในข้อมูลตัวเลขที่วิเคราะห์นั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากกับธุรกิจ นักบัญชีต้องหา
จุดเปลี่ยน หาความแตกต่างในองค์ความรู้ที่มี พร้อมยกระดับตัวเองให้เป็นผู้ช่วยผู้บริหารหรือสามารถเป็นระดับ CEO ใน
องค์กรได้ในอนาคต
คุณวรวิทย์ เจนธนากุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี

Q : อยากเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) แล้ว ควรเตรียมตัวสอบอย่างไร ?
A : การเตรียมตัวที่สำคัญก็คือ ต้องมีความรู้ในเรื่องขอบเขตของการสอบ รายวิชา หรือเกณฑ์ในการสอบ สำหรับวิชาใน
การสอบที่ประกอบไปด้วยวิชาบัญชี วิชาสอบบัญชี และวิชากฎหมายนั้น เราก็ต้องศึกษาว่าสิ่งที่กรมสรรพกากรต้องวัดความรู้
ขอบเขตในแต่ละด้านนั้นมีอะไรบ้าง รวมถึงต้องตรวจสอบคุณสมบัติของตนเองว่ามีความพร้อมในการที่จะเข้าสอบ TA ได้
หรือไม่
สำหรับความยากง่ายในการสอบขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมเป็นสำคัญ หากเรามีการเตรียมความพร้อมที่ดี ทั้งในเรื่อง
ของบัญชีและภาษี คิดว่าจะไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ทางบัญชีเพราะว่าตัว TA จะมี
วัตถุประสงค์มุ่งเน้นการจัดทำบัญชีที่จะนำส่งเสียภาษีให้ถูต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
วิธีส่วนตัวที่ใช้ก็คือ จะมีการนำข้อมูลต่างๆ มาทบทวน ตั้งแต่บัญชีชั้นต้น บัญชีชั้นกลาง รวมทั้งประกาศใหม่ๆ เรื่องการบัญชี
ก็ต้องมีการอัปเดตให้เป็นปัจจุบัน โดยในกรมสรรพากรก็จะมีช่องทางให้เข้าไปดูข้อมูลต่างๆ ได้ ถ้าติดตามข่าวสารทั้งหมดนี้
ก็จะได้ข้อมูลที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการสอบ
ส่วนเทคนิพิเศษที่อยากจะแนะนำผู้เข้าสอบก็คือ ต้องเข้าใจเกณฑ์และจับใจความประเด็นที่จะใช้ในการสอบให้ได้ โดยเฉพาะ
ในเรื่องของภาษีที่ยากและซับซ้อน ต้องอ่านข้อหารือ กรณีศึกษาจริงที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับประยุกต์ในการสอบด้วย
จะช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนและตอบข้อสอบได้อย่างถูกต้อง แต่หากจับประเด็นในข้อสอบไม่ได้แล้ว โอกาสที่จะเกิด
ความผิดพลาดก็สูงไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องหมั่นศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้พร้อมมากที่สุด
ปัจจุบันการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษี กฎหมายอย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เสียภาษีอย่างถูกต้อง และอาจช่วยให้ประหยัด
ต้นทุนขององค์กรได้ ถึงจะยังไม่ได้เป็น TA ก็สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวมถึงสามารถนำความรู้นั้น
มาแนะนำลูกค้า บุคลากรในองค์กรได้ เป็นการเพิ่ม Value ให้กับตัวเองได้อีกด้วย และถ้าพร้อมก็สามารถพัฒนาตัวเอง
ก้าวสู่การเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้อย่างสมบูรณ์ ขอให้โชคดีในการสอบครั้งนี้ค่ะ
คุณกาญจนา ชาวชัยนาท ผู้จัดการ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด ผู้ผ่านการสอบบัญชีภาษีอากร (TA)


Learning : 108 คำถามชาวบัญชี : กองบรรณาธิการ
วารสาร : CPD&ACCOUNT มกราคม 2564


FaLang translation system by Faboba