ค่าชดเชยพิเศษจากการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้แทนลูกจ้าง

โดย

 

 

ในเดือนตุลาคม 2537 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครอง
แรงงานฯ ข้อ 46 ทวิและ ข้อ 47 ตรี ให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเพราะการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาแทนที่
ลูกจ้างไว้เป็นการเฉพาะ ต่อมาเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 จึงนำมาบัญญัติไว้ในมาตรา 121
และมาตรา 122 จนถึงปัจจุบัน

มาตรา 121 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต
การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุ
ให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของ
การเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่
จะเลิกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง
นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง
อัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ
เป็นหน่วยด้วย

ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทน
การบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย”

มาตรา 122  บัญญัติว่า  “ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 121 และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกิน6 ปีขึ้นไป
ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 50 วันต่อการทำงาน
ครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 15 วันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง
ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วันหรือไม่เกิน
ค่าจ้างของการทำงาน 360 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่า
180 วัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี”

หลักเกณฑ์ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 121 และมาตรา 122
จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 121 และมาตรา 122 มีหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(1) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง
(2) เนื่องจากนำเครื่องจักรมาใช้ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต
การจำหน่ายและการบริการ
(3) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้
(4) นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน และจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แก่ลูกจ้างสำหรับอายุงานที่เกิน 6 ปี ปีละไม่ต่ำกว่า
ค่าจ้าง 15 วัน ไม่เกินค่าจ้าง 360 วัน

  บางส่วนจากบทความ  “ค่าชดเชยพิเศษจากการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้แทนลูกจ้าง”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนมกราคม 2564



กฎหมายแรงงาน : กฎหมายคุ้มครองแรงงาน : พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น
วารสาร : HR Society Magazine มกราคม 2564



FaLang translation system by Faboba