สัญญาให้และภาระภาษี

โดย

 

 
รู้จัก “สัญญาให้”



หากกล่าวถึงสัญญา “ให้” อาจฟังดูเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดา และเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับการประกอบธุรกิจ
แต่ความจริงแล้ว “การให้” เกิดขึ้นกับการประกอบกิจการอยู่บ่อยครั้ง ไม่ต่างจากสัญญาประเภทอื่นๆ เพียงแต่เราอาจจะ
มองข้ามไปเท่านั้น 

ความหมายของสัญญาให้
สัญญาให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ สัญญาที่บุคคลหนึ่ง (เรียกว่า ผู้ให้) โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หา
แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง (เรียกว่า ผู้รับ) และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้ 
สัญญาให้จึงไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เพราะผู้รับไม่ต้องทำหน้าที่อะไรตอบแทน นอกจากรับเอาแต่ประโยชน์จากผู้ให้
แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น 
จุดสำคัญของสัญญาให้อีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้รับต้องยอมรับเอาทรัพย์สินที่ให้ด้วย นั่นหมายความว่า การให้ทรัพย์สินกัน
ผู้รับสามารถเลือกที่จะยอมรับหรือปฏิเสธการให้ได้ ถ้าผู้รับเลือกที่จะยอมรับ สัญญาให้ก็เกิด แต่ถ้าผู้รับเลือกที่จะปฏิเสธ
สัญญาให้ก็จะไม่เกิดขึ้นนั่นเอง

ลักษณะสำคัญของสัญญาให้
1. สัญญาให้มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ ผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนให้แก่ผู้รับโดยไม่มีค่าตอบแทน
ผู้รับได้รับโอนทรัพย์สินจากผู้ให้โดยไม่มีค่าตอบแทน
2. วัตถุแห่งสัญญาให้ คือ ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง (สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์) และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง
ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ นอกจากนี้ การให้นั้นจะทำด้วยการปลดหนี้ให้แก่ผู้รับหรือด้วยการชำระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชำระ
อยู่ก็ได้
3. ผู้ให้ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้ เพราะสัญญาให้ คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ
4. ผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินที่ให้นั้น
5. สัญญาให้ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน ผู้รับไม่มีหน้าที่ต้องตอบแทนสิ่งใดให้แก่ผู้ให้
6. ความสมบูรณ์ของสัญญาให้ ขึ้นอยู่กับประเภททรัพย์สินที่ให้ ดังนี้
• สังหาริมทรัพย์ การให้จะสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ
• อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ซึ่งถ้าซื้อขายกันต้องทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ การให้จะสมบูรณ์เมื่อได้ทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
• สิทธิอันมีหนังสือตราสารเป็นสำคัญ การให้จะสมบูรณ์เมื่อผู้ให้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และผู้ให้มีหนังสือบอกกล่าว
แก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้น



   
      บางส่วนจากบทความ “สัญญาให้และภาระภาษี”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 40 ฉบับที่ 479 เดือนสิงหาคม  2564 




Laws & News : Business Law : รัฐวุฒิ จิตร์ชนะ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร สิงหาคม 2564 



FaLang translation system by Faboba