ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีและอัตราภาษี

โดย

 


 
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีและอัตราภาษี


 “พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562” (พ.ร.บ.) หากนับอายุของกฎหมายฉบับนี้ปัจจุบันก็มีอายุ 4 ปีแล้ว แต่ผู้เสียภาษีคือเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็ยังไม่ได้จ่ายภาษีประเภทนี้ ด้วยความที่จังหวะการเริ่มบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 1 ปี คือช่วงปี 2563 โลกของเราก็เข้าสู่ช่วงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ทำให้รัฐบาลได้ออกประกาศเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องและบรรเทาภาระให้กับผู้เสียภาษีเป็นการทั่วไป โดยมีการลดภาษีไปถึง 90% ของภาษีที่ต้องชำระ อย่างไรก็ดี ในปีภาษี พ.ศ. 2565 จะเริ่มเก็บภาษีนี้ตามปกติตามนโยบายของรัฐ แต่รัฐก็ยังคงช่วยบรรเทาภาษีให้ด้วยการปรับลดอัตราภาษีลงมาจากกฎหมายหลัก

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในข่ายการจัดเก็บนั้น ได้แก่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งของรัฐและเอกชน ยกเว้นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามมาตรา 8 เช่น ทรัพย์สินของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้ในกิจการของรัฐหรือกิจการสาธารณะโดยมิได้ใช้หาประโยชน์ ทรัพย์สินขององค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงสุลของต่างประเทศ สภากาชาดไทย ศาสนสมบัติเฉพาะที่มิได้ใช้หาประโยชน์ สุสานสาธารณะหรือณาปณสถานสาธารณะที่ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ทรัพย์ส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สาธารณูปโภคตามกฎหมายการจัดสรรที่ดิน ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณประโยชน์ ฯลฯ

โดยได้มีการจัดกลุ่มประเภทที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตามประเภทการใช้ประโยชน์
โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. เกษตรกรรม
2. ที่อยู่อาศัย
3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม)
4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามสภาพ (รกร้างว่างเปล่า)
และในแต่ละประเภทก็มีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป

ดังนั้น การจัดประเภทการใช้ประโยชน์จึงค่อนข้างมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้พอสรุปได้ตามตารางนี้ (ครอบคลุมกฎหมายหลักและกฎหมายรอง)

ปี 2562 ณ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ประกาศ
เพิ่มเติม
ปี2563/
2564

ประกาศ
เพิ่มเติม
ปลายปี 2564

ประเภท
การใช้ประโยชน์

อัตราสูงสุด (ม.37)

อำนาจในการประกาศลดอัตราภาษี ลดลงได้สูงสุด 90% จากอัตราสูงสุดใน ม.37 (ม.55)

2563-2564
(ม.94)

ปีภาษี 2565

มีเงื่อนไขสำหรับทรัพย์สินที่มีการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

มาก่อนปี 2562 ม.97

2563-2564

“พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2564”

เพื่อกำหนดอัตราภาษีสำหรับ
ปีภาษี 2565
เป็นต้นไป

1 เกษตรกรรม*

0.15%

0.015%

0.01%-0.1%

จำนวนภาษีเดิม
(ตามภาษีโรงเรือนและที่ดิน)

+ 75% ของภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้น

จากเดิมตามการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ที่คำนวณได้

มาตรการบรรเทาช่วงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส

โดยลดอีกร้อยละ 90ของภาษีที่คำนวณได้

ตามอัตราที่ใช้ (ม.94)

0.01% -0.1%

2 ที่อยู่อาศัย**

0.3%

0.03%

0.03% - 0.1%**

0.02% - 0.1%**

0.03% - 0.1%**

0.02% - 0.1%**

3.ใช้ประโยชน์นอกเหนือไปจากกรณี 1,2

1.2%

0.12%

0.3% - 0.7%

0.3% - 0.7%

4. รกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

1.2%

0.12%

0.3% - 0.7%

0.3% - 0.7%

* ยกเว้นการจัดเก็บเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของในปี 2563-2565 (ม.96)
** กรณีบ้านหลังแรก (บ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น) ได้รับยกเว้นสำหรับมูลค่าที่ไม่เกินกำหนด

การจัดประเภทเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม อ้างอิงจากระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กรณีที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกจัดประเภทเป็นรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ จะมีข้อเสียคือ หากในปีภาษีถัดไปยังคงไม่ได้ทำประโยชน์อีกจะส่งผลให้อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จนวิ่งไปชนเพดานสูงสุดตามกฎหมาย

 

บางส่วนจากบทความ : “Kick Off เก็บภาษีที่ดินฯ เต็ม 100 เรื่องฮอตชาวบัญชีต้องรู้
โดย : : วิทยา เอกวิรุฬห์พร Section : Accounting Style / Column : CPD Talk
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 222 เดือนมิถุนายน 2565

 

FaLang translation system by Faboba