สัญญาเช่า BOT

โดย

 


 
สัญญาเช่า BOT


สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ หรือในทางกฎหมายเรียกกันว่า สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา คือ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่าได้ให้ค่าตอบแทนแก่ผู้ให้เช่าเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าเช่าตามปกติ โดยสัญญาประเภทนี้ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ แต่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่วางบรรทัดฐานไว้และพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2488 (ประชุมใหญ่) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12803/2557 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2558

ภาระภาษีสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ รูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer)

สัญญาต่างตอบแทนพิเศษรูปแบบ BOT หรือเรียกว่า “สัญญาเช่า BOT” กล่าวง่าย ๆ คือ สัญญาเช่าที่ดินระยะยาวเพื่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน + ข้อตกลงให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน (ผู้ให้เช่า) เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า

ตัวอย่างเช่น

บริษัท A จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากนาย ก. มีกำหนดเวลา 30 ปี ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงแรม สัญญาเช่าที่ดินเริ่มขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 และจดทะเบียนการเช่าที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย บริษัท A ตกลงจ่ายเงินกินเปล่าให้นาย ก. 36,000,000 บาท ในวันทำสัญญา ตกลงจ่ายค่าเช่าทุกวันที่ 1 ของเดือน เดือนละ 200,000 บาท และมีข้อตกลงในสัญญาให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ก. เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง

ซึ่งโดยทั่วไป ภาระภาษีของสัญญาเช่า BOT จะเหมือนกับภาระภาษีของสัญญาเช่าที่ดินปกติ คงมีข้อแตกต่างอยู่ที่ภาระภาษีที่เกี่ยวกับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเท่านั้น

 

จากบทความ : “สัญญาเช่า BOT และภาษีที่เกี่ยวข้อง” 
Section: 
Section: Laws & News / Column: Business Law
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่.....วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 41 ฉบับที่ 489 เดือนกรกฎาคม 2565
หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e-Magazine Index

 

FaLang translation system by Faboba