การเลือกหน่วยภาษีใหม่ของบุคคลธรรมดา

โดย

 


 
การเลือกหน่วยภาษีใหม่ของบุคคลธรรมดา


ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดามีเงินได้พึงประเมินเมื่อสิ้นปีปฏิทิน ต้องนำเงินได้ไปคำนวณภาษีเงินได้และนำส่งภาษีในปีถัดไป อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 5 - 35 โดยเงินได้พึงประเมินสุทธิ 150,000 บาทแรกยกเว้นภาษี

เมื่อผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาบางรายอาจเสียภาษีในแต่ละปีค่อนข้างสูง ผู้มีเงินได้อาจเลือกเสียภาษีโดยเลือกหน่วยภาษีใหม่แทนการเสียภาษีเงินได้ของตนเอง หน่วยภาษีใหม่จะประกอบไปด้วย

1. “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” หมายถึง“บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำนั้น

2. "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" หมายความว่า บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกัน อันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันกำไรกัน

ดังนั้นหากผู้มีเงินได้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) - (8) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรกัน จะตั้งหน่วยภาษีใหม่เป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ที่ไม่ใช่นิติบุคคล อันมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อันถือเป็นคนละหน่วยภาษีกับบุคคลธรรมดา (แยกกันเสียภาษีไม่ต้องนำเงินได้มารวมกัน) ทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จัดตั้งขึ้นประหยัดภาษีที่ต้องเสียได้

บางส่วนจากบทความ : “การเลือกหน่วยภาษีใหม่ของบุคคลธรรมดา”
โดย : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร Section : Tax Talk Column : Tax & Accounting
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 223 เดือนกรกฎาคม 2565

 

FaLang translation system by Faboba