กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

โดย

 


 
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ


           กิจการที่ขายสินค้าหรือให้บริการจะต้องเสียภาษีอากร ซึ่งอาจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีข้อจำกัดสำหรับกิจการบางประเภทซึ่งมีความยุ่งยากในการกำหนดมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้กำหนดให้ธุรกิจเฉพาะเสียภาษีในลักษณะพิเศษอยู่นอกระบบมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเรียกว่า“ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax)” อันเป็นภาษีอากรประเมิน การเสียภาษีประเภทนี้จะเสียภาษีในลักษณะเช่นเดียวกันกับภาษีการค้า (Business Tax) ที่กรมสรรพากรเคยเรียกเก็บก็จะมีการยกเลิกและมาใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแทน

           ภาษีธุรกิจเฉพาะจะคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ซึ่งภาษีธุรกิจเฉพาะที่กิจการได้จ่ายไปแล้ว นำมาถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ หรือ
65 ตรี ดังนั้นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจึงเสียจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

           ผู้ที่มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร อยู่ในรูปแบบของ
           1. บุคคลธรรมดา
           2. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
           3. กองมรดก
           4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
           5. กองทุน
           6. มูลนิธิ
           7. หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อันมิใช่นิติบุคคล
           8. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
           9. องค์การของรัฐบาล สหกรณ์
           10. นิติบุคคลในรูปแบบใดก็ตาม

           ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทน ซึ่งมีอำนาจในการจัดทำการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะร่วมกับผู้ประกอบกิจการ
           1.ต้องเป็นการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ
           2.มีหนังสือรับรองจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระบุรายชื่อและจำนวนลูกจ้าง
              (ทั้งหมดรวมคนพิการ)
           3.มีสำเนาบัตรประจำตัวคนพิการของลูกจ้าง
           4.มีสำเนาสัญญาจ้างแรงงาน
           5.มีหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนพิการที่จ้างเข้าทำงาน

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

           ธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้ถูกแยกออกมาต่างหากจากธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
           
1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ
           2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองชิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ                   ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
           3. การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
           4. การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
           5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา
               ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
           6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม                     ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
           7. การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์                         (ปัจจุบันได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
           8. การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ในกรณีที่บุคคลอยู่นอกราชอาณาจักร                     ประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการหรือตัวแทนของตนที่อยู่ในราชอาณาจักรให้ถือว่าประกอบ                 กิจการในราชอาณาจักร

 

   จากบทความ : “ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ” โดย : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
   Section : Tax Talk Column : Tax & Accounting

   อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 224 เดือนสิงหาคม 2565

 
 


FaLang translation system by Faboba