หลักการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 จากกำไรสุทธิ

โดย

 


 
หลักการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 จากกำไรสุทธิ

 

         เรามาทบทวนหลักการพื้นฐาน กล่าวคือ
         ประเด็นแรก นิติบุคคลต้องนำยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 (ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี) กำหนดการนำยื่นภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

         ประเด็นต่อมา การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 กรมสรรพากรกำหนดอยู่ 2 ประเภท คือ
         1. เสียจากกำไรสุทธิในรอบ 6 เดือน (ตามจริง)
                  • บริษัทจดทะเบียน
                  • ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์
                  • หรือผู้ได้รับอนุมัติให้มีผู้สอบทานงบการเงิน

         ข้อสังเกต
         ถ้านิติบุคลเลือกประเภทที่ 1 ถึงแม้จะยุ่งยากในการต้องจัดทำงบการเงิน และต้องสอบทานงบการเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการนำยื่น ก็จะไม่มีประเด็นต้องกังวลในเรื่องผลกระทบจากการประมาณการผิดพลาด เหตุผลเนื่องจากเป็นการเสียภาษีจากกำไรสุทธิในรอบ 6 เดือน ตามจริง

         2. เสียจากกึ่งหนึ่งจากประมาณการกำไรสุทธิ
                  • บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น

         ข้อสังเกต
         การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 โดยเลือกเสียจากกึ่งหนึ่งจากประมาณการกำไรสุทธินั้น มีประเด็นที่ควรระมัดระวัง คือ การแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ (อ้างอิงมาตรา 67 ตรี) โดยไม่เหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของภาษีที่นำส่งขาด

 

บางส่วนจากบทความ : “ทบทวนกำไรสุทธิใน ภ.ง.ด.51 แนวโน้มประมาณการผิดพลาดและวิธีแก้ไข”
โดย :  Mr.knowing Section : Accounting Style / Column : CPD Coach

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 227 เดือนพฤศจิกายน 2565

 
 


FaLang translation system by Faboba