หลักการจัดทำงบประมาณเงินสด

โดย

 


 
หลักการจัดทำงบประมาณเงินสด

 

       มีหลายท่านถามว่าในปี 2566 เรื่องใดที่องค์กรควรให้ความสำคัญที่สุดและวางแผนจัดการอย่างเร่งด่วน
       คำตอบก็คือ ความเสี่ยงที่องค์กรจะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการดำเนินธุรกิจ อาจถึงขั้นต้องลดจำนวนพนักงาน ลดเงินเดือน ลดค่าจ้างแรงงาน และที่แย่ที่สุดคือการปิดกิจการ ตามข่าวที่เราได้รับทราบกัน


       ดังนั้นการดำรงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดให้เพียงพอต่อสภาพคล่อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องมีการวางแผนจัดการอย่างเร่งด่วนและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า ซึ่งเรื่องนี้นักบัญชีควรมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันในการจัดทำข้อมูลทางการเงิน เพื่อผู้บริหารจะได้นำไปใช้ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ โดยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญก็คือ การจัดทำงบประมาณเงินสด


       ทั้งนี้ ความแตกต่างของ “งบประมาณเงินสด” กับ “งบกระแสเงินสด” ก็คือ งบประมาณเงินสดเป็นข้อมูลที่พยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต ส่วนงบกระแสเงินสดเป็นการวิเคราะห์เหตุการณ์ข้อมูลในอดีต
       งบประมาณเงินสด หมายถึง งบที่แสดงให้เห็นถึงการพยากรณ์อนาคตของกระแสเงินสดในช่วงเวลาหนึ่ง อาทิ อาจจะเป็น 3 เดือนข้างหน้า 6 เดือนข้างหน้า เป็นต้น งบประมาณเงินสดจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ได้ว่าอนาคตในแต่ละช่วงเวลาองค์กรมีเงินสดเพียงพอแก่การใช้จ่ายหรือไม่ หากไม่เพียงพอจะมีเวลาในการวางแผนการจัดหาเงินอย่างไร จะบริหารจัดการการดำเนินงานอย่างไร


       ในขณะเดียวกัน ถ้ามีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเป็นจำนวนมากเกิน จะวางแผนอย่างไร จะเก็บเอาไว้หรือนำไปลงทุน จะลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว ภายใต้บริบทที่บริษัทยังมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพียงพอต่อสภาพคล่อง
       หลักการพื้นฐานการจัดทำงบประมาณเงินสด มีด้วยกัน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
       1. การจัดทำงบประมาณเงินสดรับ (Cash Receipts Budget)
       2. การจัดทำงบประมาณเงินสดจ่าย (Cash Disbursements Budget)
       3. การจัดทำงบประมาณเงินสด - สุทธิ (Net Cash Flow)

 

   บางส่วนจากบทความ : “วางแผนการเงิน” ด้วยงบประมาณเงินสด”
   โดย :
Mr.knowing Section : Accounting Style / Column : CPD Coach

   อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 228 เดือนธันวาคม 2565

 
 
FaLang translation system by Faboba