ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อและเงื่อนไข การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 32 และ 154

โดย

 


 
ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อและเงื่อนไข
การออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียน
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฉบับที่ 32 และ 154

 

          ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
          เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 32


          “ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้”
                 (1) เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น การขายสินค้าของกิจการแผงลอยกิจการขายของชำ กิจการขายยา กิจการจำหน่ายน้ำมัน และกิจการห้างสรรพสินค้า
                 (2) การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น การให้บริการของกิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการซ่อมแซมทุกชนิด กิจการโรงภาพยนต์และกิจการสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น
                 กิจการภัตตาคาร ได้แก่ กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้าง ปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
                 (3) ผู้ประกอบการตาม (1) และ (2) ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

                 7 การประกอบกิจการรายย่อยที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 154
                 1.การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษี ในเดือนใดถึง 300,000 บาท
                 2.การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
                 3.การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือการกระทำใดๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน
                 4.การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
                 5.การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
                 6.การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
                 7.การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน



                 1.ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท แต่ถ้าเกินต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง
                 **กรณีลูกค้าขอใบกำกับกับภาษี ไม่ว่ายอดเท่าไรก็ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป**
                 2.ให้จัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อ รวบรวมการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ใน 1 วัน เพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายงานภาษีขาย โดยลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีดังกล่าว และเก็บใบกำกับกับภาษีไว้ตามมาตรา 87/3

FaLang translation system by Faboba