ทิศทางตลาดและการสร้างแรงงานสัมพันธ์ นายจ้าง-ลูกจ้างในองค์กร

โดย

 


 
ทิศทางตลาดและการสร้างแรงงานสัมพันธ์
นายจ้าง-ลูกจ้างในองค์กร


     วารสาร HR Society ฉบับเดือนพฤษภาคม 2566 สัมภาษณ์คุณเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ผู้อยู่เบื้องหลังความสําเร็จในสายงานบริหารมามากมาย เช่น ประธานสภาองค์การนายจ้างอาเซียน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานสภาองค์การนายจ้างฯ คุณเอกสิทธิ์มีมุมมองและแนวคิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอย่างไร ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ในคอลัมน์ Cover Story

     อุปสงค์การจ้างงานปี 2566 และการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน
     “ภาพรวมของประเทศไทยตอนนี้ จะเกี่ยวข้องกับดิจิทัลเป็นหลัก หลังจากเคยเป็นระบบเศรษฐกิจแอนะล็อก ก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผมมองว่าเรามีโอกาสเติบโตได้ แต่ต้องพัฒนาบุคลากรไทยให้มีความรู้ในด้านดิจิทัล เพราะหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ทุกคนต้องปรับตัวเร็ว จากที่เมื่อก่อนไม่ค่อยสนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เดี๋ยวนี้ต้องสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว เรียกว่าต้องปรับตัวด้านดิจิทัลค่อนข้างไว แต่เมื่อเกิดวิกฤตแล้วเราเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาคนให้มีศักยภาพ เพราะถึงเราจะลงทุนซื้ออุปกรณ์ต่างๆ แต่สิ่งสำคัญถ้าบุคลากรใช้ไม่เป็น ก็ไม่เกิดประโยชน์ ต้องสอนให้ทุกคนรู้จักใช้ให้เป็น โดยเฉพาะดิจิทัลที่เกี่ยวกับ AI ต้องพัฒนาบุคลากรให้ทันสมัย ยิ่งในโรงงานเคยใช้แต่แรงงานเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันแทบจะใช้หุ่นยนต์กันหมดแล้ว ก็ยิ่งต้องเร่งปรับตัวเพิ่มขึ้น

     ส่วนความเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน ผมมองว่าคนรุ่นใหม่นิยมเป็นเจ้านายตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการ ในยุคนี้จึงหันไปทำออนไลน์กันส่วนใหญ่ ถือเป็นแรงงานอิสระในระบบ รัฐบาลจึงต้องหาวิธีดูแลเรื่องภาษี รายได้ และสวัสดิการประกันสังคม ถือเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ จากเดิมต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน สมัยนี้บางบริษัทปรับมาใช้ Work From Home กันมากขึ้น ทำให้ตลาดแรงงานต้องปรับตัว อย่างธุรกิจให้เช่าออฟฟิศที่เคยบูมสุดๆ ต้องเปลี่ยนเป็น Co-Working Space รองรับการทำงานรูปแบบใหม่ที่คนทำงานผ่านออนไลน์ได้ ซึ่งผลลัพธ์ก็ประสบความสำเร็จเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ย่อมมีผลต่อตลาดแรงงานเยอะพอสมควร”

     ทิศทางการขับเคลื่อนของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยในปีนี้
     “เราเป็นองค์กรตรงกลาง ดูแลทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างดีขึ้น ผมจึงให้ความสำคัญกับบริษัทว่าต้องมีวิธีดูแลจัดการลูกจ้างที่ดี ทั้งในเรื่องสวัสดิการและเงินเดือนค่าตอบแทนต่างๆ ก็ต้องเหมาะสม”

 

  บางส่วนจากบทความ : “ทิศทางตลาดและการสร้างแรงงานสัมพันธ์ นายจ้าง-ลูกจ้างในองค์กร”
  โดย : กองบรรณาธิการ / Section : - / Column : Cover Story

  อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร HR Society ปีที่ 21 ฉบับที่ 245 เดือนพฤษภาคม 2565

 
 
FaLang translation system by Faboba