รายได้กับภาระภาษี

โดย

 


 
รายได้กับภาระภาษี


    โดยปกติแล้ว การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการจะมีภาระภาษี คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่จะมีบางกิจการอาจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บางกิจการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ บางกิจการอาจได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ บางกิจการเสียเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการมักจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและส่งมอบให้กับลูกค้า อีกทั้งต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มให้แล้วเสร็จใน 3 วันทำการ พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม ทำให้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่หลักในการยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน โดยการนำภาษีขาย (ยอดขาย) หักออกจากภาษีซื้อ (ยอดซื้อ) ในแต่ละเดือนภาษี หากภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อต้องนำผลต่างนำส่งกรมสรรพากร หากภาษีขายต่ำกว่าภาษีซื้อต้องนำผลต่างขอคืน
    จะสังเกตได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นผู้ประกอบการต้องยื่นแบบทุกเดือน หากยื่นครบ 1 ปีตามรอบบัญชี กิจการจะยื่นแบบ ภ.พ.30 เป็นเวลาถึง 12 เดือน อาจมีผู้ประกอบการบางรายเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่อย่างไรก็ดี ต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นไปถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกด้วย
    มักจะมีคำถามเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ว่า ทำไมยอดขายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 จึงไม่เท่ากับรายได้ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด.50 หรือทำไมรายได้ที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในแบบ ภ.ธ.40ไม่เท่ากับรายได้ที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือทำไมรายได้เสียเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงอย่างเดียวไม่เสียภาษีอากรประเภทอื่น
    โดยปกติแล้ว หากพิจารณารายได้ในการประกอบกิจการของธุรกิจมักจะมีรายได้หลายประเภทด้วยกัน เช่น
    1. รายได้หลัก หรือรายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการ ได้แก่
        1.1 รายได้จากการขายสินค้า
        1.2 รายได้จากการให้บริการ
    2. รายได้อื่น หรือรายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ ผลกระทบที่จะทำให้รายได้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับรายได้ที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เท่ากัน ทั้งที่เป็นรายได้หลักหรือรายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการและรายได้อื่น อันประกอบไปด้วยรายได้จากการขายสินค้า รายได้ค่าบริการ และรายได้อื่น อาจแยกรายได้จากการขายสินค้าและรายได้ค่าบริการ ออกมาได้ดังนี้
        1. รายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
        2. รายได้ที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
        3. รายได้ที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
        4. รายได้ที่ยกเว้นไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
        5. รายได้ที่เสียเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

  จากบทความ : “รายได้ทางภาษีผู้ประกอบการต้องระวัง”
  โดย : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร Section : Tax Talk/ Column : Tax & Accounting
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 20 ฉบับที่ 233 เดือนพฤษภาคม 2566”

 
 
FaLang translation system by Faboba