ความเสี่ยง...ตีความเงินได้ผิดประเภท

โดย

 


 
ความเสี่ยง...ตีความเงินได้ผิดประเภท


    กรณีบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งต้องนำรายได้ดังกล่าว มายื่นแบบแสดงรายการคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นที่ทราบกันดีว่าการคำนวณภาษีเงินได้แต่ละประเภท จะได้รับสิทธิในการหักค่าใช้จ่ายมากน้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นหากมีการตีความประเภทเงินได้ผิดอาจทำให้การนำค่าใช้จ่ายทางภาษีมาหักผิดไปด้วย
    การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีของเงินได้แต่ละประเภทนั้นมีอัตราค่าใช้จ่ายเหมาแตกต่างกันไป เว้นแต่จะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงที่กฎหมายให้ทางเลือกไว้ ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นที่พบข้อผิดพลาดบ่อยคือ
    เงินได้ตามมาตรา40 (1) เงินเดือน และ 40 (2) การรับทำงานให้
    เงินได้ตามมาตรา 40 (1) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ และประโยชน์เพิ่มอื่น ๆ เป็นต้น มีสัญญาจ้างแรงงานไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของงาน ลูกจ้างทำงานตามการควบคุมของนายจ้างต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับตลอดระยะเวลาทำงาน ตามที่เราเรียกกันว่ามนุษย์เงินเดือน เงินได้จากการให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงานนี้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าจะมีรายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท (ตามมาตรา 81 (1) (ฐ) แห่งประมวลรัษฎากร)
    เงินได้ตามมาตรา 40 (2) ได้แก่ เงินได้จากหน้าที่หรืองานที่รับทำให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส รวมถึงประโยชน์เพิ่มอื่น ๆ การจ้างงานนี้จะมุ่งเน้นถึงผลสำเร็จของงานตามที่ตกลงกันและผู้รับทำงานให้มีอิสระในการทำงาน ไม่ต้องอยู่ในการควบคุมของนายจ้างตลอดระยะเวลาการทำงาน เงินได้ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แต่ก็มียกเว้นให้บ้าง เช่น ค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการโดยตำแหน่งฯ (รายละเอียดในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 205 ลงวันที่ 9 มกราคม 2558)
    ประเด็นข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
    คือเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น นาย ก. ทำงานกับบริษัท A เป็นพนักงานได้เงินเดือนตลอดเวลาหลายปีก็ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปี โดยไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ว่าเงินเดือนรวมทั้งปีจะเกิน 1.8 ล้านบาทเพราะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่อธิบายข้างต้น ต่อมานาย ก.เกษียณออกจากการเป็นพนักงานบริษัท A แต่บริษัท A ได้ว่าจ้างให้นาย ก. ให้เป็นที่ปรึกษา และจ่ายเงินให้ทุกเดือนมากบ้างน้อยบ้างตามงานที่ทำ โดยนาย ก. ได้รับค่าจ้างรวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาท นาย ก. นำเงินได้ยื่นเสียภาษีเงินได้ตามปกติที่เคยทำโดยไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

  จากบทความ “ความเสี่ยงจากการตีความเงินได้พึงประเมินผิดประเภท”
  Section: Tax Talk / Column: Tax Vision อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 42
  ฉบับที่ 503 เดือนสิงหาคม 2566 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร”
  เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 
FaLang translation system by Faboba