เมื่อใดควรเปลี่ยนมาประกอบในรูปแบบนิติบุคคล

โดย

 


 
เมื่อใดควรเปลี่ยนมาประกอบในรูปแบบนิติบุคคล


    ในกรณีที่ท่านเริ่มการประกอบการกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดาก่อน แล้วมีความประสงค์จะเปลี่ยนไปประกอบกิจการในรูปแบบของนิติบุคคล จะใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินใจนั้นมีด้วยกันหลากหลายเหตุผล อยู่ที่สถานการณ์ของแต่ละกิจการ เช่น
    1. ลูกค้าหรือคู่ค้าของกิจการ จะมีคำสั่งซื้อสินค้าหรือบริการแต่มีข้อแม้ว่าต้องการซื้อจากนิติบุคคลเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องไปจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
    2. ต้องการกู้เงินจากธนาคารมาเพื่อเพิ่มทุนหรือขยายกิจการ แต่ธนาคารแจ้งว่าต้องประกอบกิจการในรูปแบบของนิติบุคคลเท่านั้นจึงจะสามารถปล่อยกู้ได้ ดังนั้นการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจึงจำเป็น
    3. มองว่าการประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดานั้นมีอัตราภาษีที่สูงถึง 35% ซึ่งสูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ของนิติบุคคล ดังนั้นหากจะเปลี่ยนไปประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคลควรดูจากตัวเลขใดที่ทำให้ประหยัดภาษีได้สูงสุด ผู้เขียนขอแนะนำว่า ให้ดูที่อัตราภาษีที่ต้องเสียในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 หากอัตราภาษีอยู่ที่ 20% แล้ว แนะนำว่าควรเปลี่ยนไปประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคลจะทำให้ประหยัดภาษีได้มากกว่า
    การเตรียมพร้อมเป็นนิติบุคคล
    1. ศึกษาข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท ก่อนตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทต้องศึกษาข้อมูลที่ต้องรู้ให้เข้าใจเสียก่อนว่าการจดทะเบียนมีกี่ประเภท และกิจการของคุณเหมาะกับการจดทะเบียนบริษัทแบบไหนมากกว่ากัน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของเอกสาร ชื่อบริษัท รวมถึงเงื่อนไขทางกฎหมายต่าง ๆ
    2. จัดเตรียมเอกสารสำหรับการจดทะเบียนบริษัท สิ่งสำคัญของขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทคือการเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับยื่นจดทะเบียน โดยเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบริษัทให้ใช้ลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้ถือหุ้นคนใดก็ได้ 1 คน ส่วนเอกสารบัตรประจำตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคนให้ลงชื่อด้วยตนเองได้เลย รวมไปถึงเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนไปจดทะเบียนบริษัทแบบวันเดียวที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
    3. ตั้งชื่อบริษัทสำหรับการจดทะเบียนและวิธีการจองชื่อบริษัท สำหรับการตั้งชื่อบริษัทที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาตามมาในภายหลัง ควรตั้งชื่อโดยหลีกเลี่ยงคำที่ทำให้เข้าใจผิด โดยไม่ใช้พระนามของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน ไม่ใช่ชื่อประเทศ ไม่ใช้ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ไม่ใช่ชื่อส่วนของราชการ
    4.หาผู้รับทำบัญชีและผู้สอบบัญชี เพราะการประกอบกิจการในรูปแบบนิติบุคคลจำเป็นต้องมีการทำบัญชีและสอบบัญชี ซึ่งเป็นวิชาชีพเฉพาะเท่านั้น
    การเลือกว่าจะเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลคงจะขึ้นอยู่กับขนาด ลักษณะของธุรกิจ และการมองถึงความคุ้มค่าต่าง ๆ นั่นเอง

 

  จากบทความ “ธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล ต้องเตรียมพร้อมอย่างไร”
  Section: Tax Talk / Column: Tax Tips อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 42
  ฉบับที่ 503 เดือนสิงหาคม 2566 หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร”
  เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 
FaLang translation system by Faboba