ประเภทสัญญาและผลทางบัญชีและภาษี

โดย

 


 
ประเภทสัญญาและผลทางบัญชีและภาษี

     คำว่า “เช่า” ในภาษาไทยเป็นคำ ๆ เดียวที่ใช้อย่างแพร่หลาย แต่ในภาษาอังกฤษนั้น คำสามัญที่มาใช้เรียกแบบครอบคลุมในภาษาการตลาดคือ Leasing ซึ่งภาษาอังกฤษแปลว่า การเช่าหรือให้เช่า ซึ่งครอบคลุมกว่า ทั้งนี้ ในภาษาอังกฤษมีคำที่ใช้เพื่อหมายถึงการเช่าอีก คือ Rent และ Hire เพื่อแสดงถึงการเช่า โดยในภาษาอังกฤษนิยมใช้แตกต่างกันดังนี้
     • Rent ใช้กับที่ดิน อาคาร รถยนต์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน
     • Hire นิยมใช้กับการเช่ารถ หรืออุปกรณ์เล็ก ๆ
     • Lease นิยมใช้กับที่ดิน อาคาร ที่มีลักษณะสัญญายาวนานผูกมัดกันหลายปี
     ต่อมานักการตลาดก็พยายามแก้ Pain Point ในแต่ลักษณะสัญญา จนเป็นสัญญา Hybrid ที่รวมเอาข้อดีของแต่ละลักษณะสัญญาเข้ามา จนเกิดเป็นลักษณะสัญญาดังต่อไปนี้
     1. สัญญา Hire Purchase (เช่าและซื้อ) สัญญานี้จะต่างกับกรณีการซื้อผ่อนชำระ คือ จะยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในขณะส่งมอบเหมือนกับการซื้อผ่อนชำระ ซึ่งจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทันที เพียงแต่มีเงื่อนไขการชำระเงินที่ทยอยจ่ายตามข้อสัญญา สัญญานี้ผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายใกล้เคียงกับผู้ซื้อกับผู้ขายมากกว่า ต่างกันแค่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์จะยังไม่ได้โอนตามกฎหมาย
     2. สัญญาลีซซิ่ง Leasing Contract (ที่เรียกกันติดปากว่า Leasing) สัญญานี้จะต่างกับ Hire Purchase คือ สัญญาลักษณะเป็นการเช่าโดยผู้เช่า และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายแบบการเช่า แต่มีการเพิ่มข้อสัญญาในการให้สิทธิ์แก่ผู้เช่าในการใช้สิทธิ์เลือกซื้อในราคาต่ำเป็นพิเศษหรือเป็นราคาทั่วไปก็ได้ เพื่อเพิ่มอำนาจการซื้อให้กับลูกค้า
     3. สัญญาเช่า Rental Contract (ที่เรียกกันติดปาก Rent) สัญญานี้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อการเช่าใช้เพียงอย่างเดียว
     หากแม้ว่าชื่อสัญญาลีซซิ่งที่เราได้รับมานั้นจะจั่วหัวมาแล้ว ก็อย่าเพิ่งตัดสินว่าจะดำเนินการทางบัญชีและภาษีอย่างไรทันที เพราะในส่วนของทางบัญชีจะต้องมาเข้าสู่กระบวนการคัดกรองก่อนว่า เข้าเงื่อนไขของการจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าเงินทุน (Capital Lease หรือที่เรียกกันติดปากว่า สัญญาเช่าการเงิน) หรือไม่ แต่ในส่วนสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายผ่อนชำระ และสัญญาเช่าซื้อนั้น ทางบัญชีและภาษีมีแนวคิดเหมือนกันคือเป็นรายจ่าย ฝ่ายทุนที่ต้องดำเนินการรับรู้เป็นสินทรัพย์เสียก่อน แล้วค่อยหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคาอีกครั้ง
     ส่วนรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน ให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ แต่ก็ยังมีจุดแตกต่างกันในเรื่องของมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ ในหลักการของทางบัญชีและภาษีเช่นกัน
     ก่อนอื่นมาดูการจัดประเภทสัญญาทั้งในทางบัญชีและกฎหมาย (รวมกฎหมายภาษี) และมีเงื่อนไขหลัก ๆ ว่าดูในเรื่องใดบ้าง

สินทรัพย์ (ซื้อ ซื้อเงินผ่อน เช่าซื้อเช่าก่อนแล้วซื้อ)*
บัญชี ภาษี
ถือเป็นทุนทรัพย์ ทุนรอนในการดำเนินกิจการ
ด้วยเงื่อนไขในสัญญาด้านกรรมสิทธิ์หรือการครอบครองผลประโยชน์และการจัดการความเสี่ยง (Risk and
Reward) ในการครอบครองและการใช้ รวมถึงเจตนา
ในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้เช่า หากเข้าเงื่อนไข
ก็จัดเป็น Capital Lease หรือการซื้อด้วยเงินสด
หรือซื้อด้วยเครดิต

ถือเป็นทุนรอน โดยอ้างอิงกรรมสิทธิ์
การครอบครอง หน้าที่ และความรับผิดชอบ
ในการใช้ ควบคุม บำรุงรักษา ตามสัญญาที่มีกฎหมาย
รองรับในลักษณะทรัพย์สินก่อน อันได้แก่
สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ


*ลักษณะสัญญาที่เข้าเงื่อนไขนี้ มีลักษณะสำคัญคือ
   1. มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ทันที ณ ขณะส่งมอบ หรือคู่สัญญามีเจตนาจะโอนกรรมสิทธิ์ ณ วันสิ้นสุดสัญญา เพื่อเข้าครอบครองหรือกำหนดกรอบการใช้ประโยชน์ที่มีอยู่ในสินทรัพย์
   2. ผู้เช่าเป็นผู้รับความเสี่ยงในความไม่คงทน การเปลี่ยนแปลงมูลค่าอันเกิดจากอุปสงค์ในตลาด หรือเป็นผู้รับผิดชอบในการบำรุงรักษาทรัพย์ไม่ว่าไม่ว่าโดยสัญญา หน้าที่

ค่าใช้จ่าย (เช่า-สัญญาเช่า (หรือยืมใช้คงรูปประเภทหนึ่ง))**
บัญชี ภาษี
ถือเป็นค่าตอบแทนจากการใช้งานสินทรัพย์
(รถยนต์นั่ง) เพื่อการดำเนินกิจการด้วยการครอบครอง
ผลประโยชน์และการจัดการความเสี่ยง (Risk and
Reward) ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
ของสินทรัพย์

ถือเป็นลักษณะสัญญาที่มีการส่งมอบการครอบครอง
การใช้ ควบคุม บำรุงรักษา โดยผู้เช่ามีหน้าที่พึงใช้
และรักษาทรัพย์สินตามข้อตกลงในสัญญา
และมีหน้าที่ส่งคืนทรัพย์ในลักษณะเดิม ณ วันส่งมอบ
เว้นแต่การไม่คงรูปของทรัพย์นั้นเป็นการเสื่อมสภาพ
ไปตามการใช้งาน



*ลักษณะสัญญาที่เข้าเงื่อนไขนี้ มีลักษณะสำคัญคือ
   1. คู่สัญญาไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ใด ๆ และมีเจตนาส่งคืนทรัพย์ ณ เวลาที่กำหนดในสัญญา

   2. ผู้ให้เช่าเป็นผู้รับความเสี่ยงในความไม่คงทนในส่วนที่เป็นสำคัญของทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงมูลค่าอันเกิดจากอุปสงค์


  จากบทความ : “รถยนต์ที่ใช้ในกิจการ ต้องจัดการบัญชีและภาษีอย่างไร"
  โดย : วิทยา เอกวิรุฬห์พร Section : Accounting Style / Column : CPD Talk
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 20 ฉบับที่ 236 เดือนสิงหาคม 2566

 
 
FaLang translation system by Faboba