การบันทึกบัญชี การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0

โดย

 


 
การบันทึกบัญชี การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0

    การที่ผู้ประกอบการส่งสินค้าออกจะได้รับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7% ก่อน หลักฐานที่สำคัญที่แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นผู้ส่งออกจะมีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 มีดังนี้คือ
    1. หลักฐานแสดงว่าผู้ซื้อในต่างประเทศได้สั่งซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น Proforma Invoice หรือ Purchase Order หรือ Order Note หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
    2. หลักฐานการขอเปิด Letter of Credit หรือ T/T (Telex Transfer) ว่าจะมีการชำระราคาสินค้า
    3. ใบกำกับสินค้า (Invoice) หรือใบตราส่ง (Bill of Lading) เป็นหลักฐานในการส่งออกสินค้า
    4. หลักฐานที่แสดงว่าได้ผลิตสินค้าหรือได้ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตอื่น เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน
    5. หลักฐานสำเนาใบขนสินค้าขาออกที่ผ่านพิธีการศุลกากรที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร

    ตัวอย่าง บริษัท ส่งออก จำกัด ซื้อสินค้าเป็นเงิน 200,000 บาท จ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 3,000 บาท และขายสินค้าโดยการส่งออกเป็นเงิน 1,000,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะแสดงดังนี้

ภาษีขาย เรียกเก็บจากผู้ซื้อ = 1,000,000 x 0% = 0 บาท    
ภาษีซื้อ จ่ายให้แก่ผู้ขายสินค้าและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน    
  = (200,000 x 7%) + (3,000 x 7%)    
  = 14,000 + 210    
  = 14,210 บาท    
สรุป ภาษีที่ต้องขอคืน  = 0 - 14,210 = 14,210 บาท    
การบันทึกบัญชีจะแสดงดังนี้    
(1) บันทึกด้านรายจ่ายและภาษีซื้อ    
เดบิต ซื้อ 200,000  
  ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 3,000  
  ภาษีซื้อ 14,210  
  เครดิต     เงินสด    217,210
(2) บันทึกขายสินค้าโดยการส่งออก    
เดบิต เงินสด 1,000,000  
  เครดิต     ขาย   1,000,000
                ภาษีขาย   0

(3) บันทึกโอนปิดภาษีซื้อและภาษีขายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร

   
เดบิต ลูกหนี้กรมสรรพากร 14,210  
  เครดิต     ภาษีซื้อ   14,210

(4) บันทึกการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

   

ก. กรณีขอคืนเป็นเงินสด

     
เดบิต เงินสด 14,210  
  เครดิต     ลูกหนี้กรมสรรพากร   14,210

    ข. กรณีขอคืนโดยการเครดิตภาษีขาย
    
ไม่บันทึกบัญชี แต่จะนำไปหักลบภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในเดือนถัดไปแทน หากเดือนถัดไปยังคงขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะสะสมยอดไว้จนกว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระเกิดขึ้นจึงจะนำภาษีที่ขอคืนสะสมไว้ไปหักออก เมื่อกิจการมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ไม่ว่าจะต้องนำส่งภาษีหรือขอคืนหรือเครดิตภาษีหรือไม่มีภาษีเกิดขึ้นก็ตาม จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

 

  จากบทความ : “การบันทึกบัญชี การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0”
  โดย : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร Section : Tax Talk / Column : Tax & Accounting
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 20 ฉบับที่ 238 เดือนตุลาคม 2566

 
 
FaLang translation system by Faboba