การหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน

โดย

 


 
การหักค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน


   *“มาตรา 65 ทวิ (2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้หักตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา”
   **หลักเกณฑ์การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ฉบับที่ 145

   หลักเกณฑ์การคิดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
1. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจะต้องไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุน ตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

อัตราค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
   1. อาคาร  
      1) อาคารถาวร   ร้อยละ 5
      2) อาคารชั่วคราว   ร้อยละ 100
   2. ต้นทุนเพื่อการซึ่งแหล่งทรัพยากรที่สูญสิ้นไป   ร้อยละ 5
   3. ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า  
      1) กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือ มีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่าได้ต่อๆไป   ร้อยละ 10
      2) กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ หรือ มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน   ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่า
   4. ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
      1) กรณีไม่จำกัดอายุการใช้
      2) กรณีจำกัดอายุการใช้
   ร้อยละ 10
   ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้
   5. ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอหรื่อเสื่อมราคาได้นอกจากที่ดนและสินค้า    ร้อยละ 10
   


2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป

3. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาให้คำนวณตามส่วนเฉลี่ยระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยหักตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน โดยให้เฉลี่ยเป็นวัน

4. ทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์นั่ง หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท

5. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับทรัพย์สินไม่ว่าในกรณีใดจะหักจนหมดมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นไม่ได้ โดยให้คงเหลือมูลค่าของทรัพย์สินนั้นเป็นจำนวนอย่างน้อย 1 บาท ยกเว้นทรัพย์สินประเภทรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์นั่งที่มีมูลค่าต้นทุนเกิน 1 ล้านบาท ให้คงเหลือมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินเท่ากับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท

6. ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อหรือซื้อขายเงินผ่อน หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามราคามูลค่าต้นทุน คือ ราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน แต่ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่จะนำมาหักในรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือราคาที่ต้องผ่อนชำระ
ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

7. เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการวิจัย หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในวันที่ได้ทรัพย์สินมาในอัตรา
ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขประเภททรัพย์สิน

8. ทรัพย์สินประเภทเครื่องบันทึกการเก็บเงิน เลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 100 หรือเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื่องต้นในอัตราร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือให้หักตามประเภททรัพย์สิน

9. ทรัพย์สินประเภทอาคารถาวรที่บริษัทที่เป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อ
มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้อัตราร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือ
ให้หักตามประเภททรัพย์สิน

 

FaLang translation system by Faboba