เกณฑ์การพิจารณาเอกสารประกอบการลงบัญชี

โดย

 


 
เกณฑ์การพิจารณาเอกสารประกอบการลงบัญชี


     ประเด็นที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญต่อเอกสารประกอบการลงบัญชีได้รับนั้น ต้องความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ก่อนจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
     1. เอกสารต้องมีความเพียงพอ ครบถ้วน
     เอกสารที่ได้รับต้องมีความชัดเจน เพียงพอที่ทำให้สามารถเข้าใจในเนื้อหาสาระวัตถุประสงค์ของรายการค้าที่เกิดขึ้น ในกรณีที่พิจารณาแล้วอาจจะส่งผลให้การบันทึกบัญชีมีโอกาสบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง นักบัญชีต้องติดตามสอบถามจากแหล่งข้อมูลต้นเรื่อง ขอคำอธิบายการเกิดของรายการค้านั้น ซึ่งบางครั้งมีความจำเป็นที่ต้องเรียกขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนความเพียงพอต่อความเข้าใจ อีกทั้งยังคงต้องพิจารณาถึงความครบถ้วนของข้อมูล เพื่อเชื่อมั่นได้ว่าทางบัญชีจะบันทึกบัญชีครบถ้วนในงวดบัญชีที่เกิดเหตุการณ์ (ดังนั้นการ Cut-off ข้อมูลเอกสาร นักบัญชีควรต้องหมั่นติดตามให้เสร็จสิ้นเป็นประจำวันนั่นเอง)
     2. ความน่าเชื่อถือ
     เอกสารน้ำหนักของความน่าเชื่อถือ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. ต้นฉบับ 2. สำเนาของต้นฉบับ และ 3. ตัวถ่ายเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ทางบัญชีได้รับจึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่าเอกสารที่ได้รับควรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเอกสารที่ทางบัญชีได้รับที่เป็นตัวถ่ายเอกสารนั้นพึงต้องระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ
     3. ความถูกต้อง
     เอกสารที่ทางบัญชีได้รับนั้น นักบัญชีพึงจะต้องรู้ว่าในเนื้อหาสาระข้อมูลที่แสดงมีความถูกต้องหรือไม่ สอดคล้องเป็นไปตามนโยบายและระเบียบที่บริษัทกำหนดหรือไม่ รวมไปถึงรูปแบบเอกสารปรากฏเป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ โดยเฉพาะข้อกฎหมายตามประมวลรัษฎากร
     4. การอนุมัติ
     เอกสารที่มีการลงลายมือชื่อนั้นเป็นบุคคลที่ทางฝ่ายบริหารกำหนดให้ทำหน้าที่ในการลงนามหรือไม่ ซึ่งนักบัญชีจึงต้องตรวจสอบการลงลายมือชื่อด้วยเป็นสำคัญ
     ประเด็นต่อมา ความสำคัญของเอกสารที่ทางบัญชีได้รับก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของภาษีที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเวลากล่าวถึงประเด็นทางภาษีนักบัญชีต้องมองให้ครบ ได้แก่
          1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
          2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
          3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
          4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
          5. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
          6. อากรแสตมป์
     มีประเด็นใดที่บริษัทอาจจะมีโอกาสปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ จะได้วางแนวทางการป้องกันเพื่อลดการเกิดเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

  จากบทความ : ความสำคัญของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี
โดย : Mr.knowing / Section : Accounting Style / Column : CPD Coach
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 21 ฉบับที่ 244 เดือนเมษายน 2567

 
 

 

FaLang translation system by Faboba