Case Studies ปัญหาภาษีของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และ NON BOI (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM)

Course Code : 21/01646Z

Course Schedule

Course Price

Members Magazine : 4,280 Thai Baht ( Include VAT )
Non Members : 4,815 Thai Baht ( Include VAT )

Course Detail

Case Studies ปัญหาภาษีของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก
BOI และ NON BOI

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม. (รออนุมัติ)
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม. (รออนุมัติ)

• รวมปัญหาทางปฏิบัติตั้งแต่การยื่นขออนุมัติบัตรส่งเสริมการลงทุน จนถึงการรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกิจการ BOI และ NON BOI 

• ปัญหาการตีความ “รายได้ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริม” ว่าได้รับการยกเว้นตามบัตรหรือไม่

• Update มาตรการส่งเสริมพิเศษ ส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และสถานีอัดประจุไฟฟ้า

• การควบรวมกิจการตาม ป.พ.พ.ฉบับใหม่ มีผลต่อการควบรวมกิจการ BOI หรือไม่ อย่างไร

 

วิทยากรโดย อาจารย์ชลลดา ฟูวัฒนศิลป์

หัวข้อสัมมนา

1.หลักเกณฑ์การยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเอกสารที่ต้องจัดเตรียม

2.การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการ BOI ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกรมสรรพากร

3.Case Studies ปัญหารายได้ของกิจการ BOI
- ปัญหาการตีความ “รายได้ที่ได้รับยกเว้นตามบัตรส่งเสริม”
- ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการ ”ผลิต, ผสม, ประกอบ”ที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
- การขายวัตถุดิบที่นำมาใช้ในกิจการ BOI
- การจำหน่ายผลพลอยได้, สินค้ากึ่งสำเร็จรูป, ทรัพย์สิน
- เงินค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัย
- รายได้ดอกเบี้ย

4.Case Studies ปัญหารายจ่ายของกิจการ BOI
- ปัญหาการตีความ “ค่าใช้จ่าย” ของกิจการ BOI ในแต่ละบัตรส่งเสริม
- ความแตกต่างของ “วัตถุดิบ” และ “วัสดุจำเป็น”
- รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ค่าน้ำไฟสองเท่า
- ค่าชดเชยที่จ่ายให้ผู้จำหน่ายวัตถุดิบกรณีถูกยกเลิก Order
- จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ไปต่างประเทศในระหว่างได้ BOI จะต้องหักภาษีณ ที่จ่ายหรือไม่
- บริษัท BOI แต่ไม่มีการจ้างพนักงาน หรือบริษัทแม่จ้าง Outsource ต้องยื่น ภ.ง.ด.1ก หรือไม่ อย่างไร

5.Case Studies ปัญหาที่มีผลกระทบต่อการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกิจการ BOI และ NON BOI
- การโอนสินค้าสำเร็จรูปของกิจการ BOI ไปใช้ใน NON BOI
- สินค้าที่ผลิตได้ปะปนกันระหว่างโครงการ BOI และ NON BOI การขายจะทำเอกสารอย่างใร
- ปัญหาการตีความ “ความเก่า/ใหม่ของสภาพเครื่องจักร” และเอกสารที่ต้องใช้รับรอง
- กิจการ BOI ยังไม่เริ่มผลิต แต่มีเครื่องจักรที่เสียอากรขาเข้ามาแล้วสามารถขอคืนอากรได้หรือไม่
- ยังไม่ได้รับอนุมัติบัตรส่งเสริมฯ ขอนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนได้หรือไม่ มีผลทางภาษีอย่างไร
- ปัญหาการจัดทำ ISO ตามบัตรฯ สามารถอ้างอิงหนังสือรับรองของบริษัทแม่ที่ต่างประเทศได้หรือไม่
- ปัญหาการขออนุญาตใช้เครื่องจักร/ที่ดินเพื่อการอื่น และเอกสารที่ต้องจัดทำ

6.Case Studies การจ่ายเงินปันผลกิจการ BOI
- บริษัท BOI ผู้จ่ายเงินปันผลต้องหักภาษีณ ที่จ่ายหรือไม่
- ผู้รับเงินปันผลจะใช้เครดิตเงินปันผลเหมือนกับที่รับเงินปันผล จากกิจการทั่วๆไปหรือไม่
- กรณีเงินปันผลที่จ่ายมีทั้งที่ได้ BOI และ Non BOI จะต้องออก หนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่ายอย่างไร

7.Case Studies การใช้ผลขาดทุนสะสมของกิจการ กิจการ BOI และ NON BOI
- ปัญหาการใช้ผลขาดทุนสะสมปีที่ได้รับสิทธิถึงปีที่ถูกยกเลิกบัตร
- นำผลขาดทุนไปหักจากกำไรสุทธิหลังจากสิ้นสุดการยกเว้นภาษีเงินได้ ทำได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร
- กิจการเป็นทั้ง BOI และ NON BOI ได้สิทธิยกเว้นภาษี และลดหย่อนภาษี ใช้ผลขาดทุนสะสมอย่างไร

8.Case Studies ปัญหาการใช้บัตรส่งเสริม (มีหลายบัตร/ การรวมบัตร/ ยกเลิกบัตร)
- กรณีมีเฉพาะกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน 1 บัตร
- กรณีมีกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนหลายบัตร
- กรณีมีทั้งกิจการได้รับส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน
- ได้รับบัตรส่งเสริม แต่แจ้งขอเปิดดำเนินการภายหลัง จะได้รับยกเว้นภาษีย้อนหลังด้วยหรือไม่
- มีหลายบัตรแต่ยังไม่เปิดดำเนินการ จะขอแยกบัตรเป็นอีกบริษัท ตั้งชื่อและทุนจดทะเบียนใหม่ แต่ใช้ที่อยู่เดิมได้หรือไม่
- ปัญหาการใช้เครื่องจักรข้ามโครงการของกิจการ BOI
- การรวมบัตรส่งเสริม ทำอย่างไรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในแต่ละบัตรสูงสุด
- โอนกิจการ BOI พร้อมสิทธิประโยชน์ ต้องแจ้งยกเลิกบัตรส่งเสริมหรือไม่
- ผลกระทบทางภาษีกรณีถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริมฯ
- ถูกยกเลิกบัตรระหว่างปี ต้องเสียภาษีย้อนหลังหรือไม่
- บริษัทอยู่ระหว่างเลิกกิจการ ต้องรายงานผลการดำเนินงานประจำปีหรือไม่
- ปิดกิจการและอยู่ระหว่างขอยกเลิกบัตร สามารถยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรได้หรือไม่
- การควบรวมกิจการตาม ป.พ.พ. ฉบับใหม่ มีผลต่อการควบรวมกิจการ BOI หหรือไม่ อย่างไ

9.ความซับซ้อน และปัญหาที่พบในการกระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30
- กรณีสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในประเทศแต่ BOI เป็นผู้นำเข้าเอง ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- ปัญหาการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบภายหลังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
- ซื้อเครื่องจักรและวัตถุดิบจากผู้ขายในเขตปลอดอากรต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
- การจัดทำบัญชีเครื่องจักรและบัญชีวัตถุดิบเพื่อการยกเว้นอากรขาเข้า กรณีใดที่มีความเสี่ยงเสียสิทธิยกเว้นอากรต้องจ่ายย้อนหลัง
- การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ข้อควรระมัดระวังที่ BOI มักถูกประเมิน

10.มุมมองของสรรพากรในการวิเคราะห์งบการเงินของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

11.ผลกระทบ และบทลงโทษ หากกิจการใช้สิทธิและประโยชน์ผิด

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 1 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม

หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม
เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี

** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **


   

 



 
Hours of CPD Hours of CPA
account other accountant other
0:0 6:0 0:0 6:0

Instructor

อาจารย์ชลลดา ฟูวัฒนศิลป์

Location

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี นับชั่วโมงได้)
Phone :
Website :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba