เจาะประเด็นรายจ่ายต้องห้ามและภาษีซื้อต้องห้าม (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM)

รหัสหลักสูตร : 21/1824Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 2,996 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 3,531 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เจาะประเด็นรายจ่ายต้องห้ามและภาษีซื้อต้องห้าม

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline                     CPA นับ ชม.แบบไม่เป็นทางการได้ 

  • ประเด็นปัญหารายจ่ายต้องห้ามที่พบบ่อย
  • รายการในใบกำกับภาษีไม่ครบถ้วน ลงรายจ่ายได้หรือไม่
  • ประเด็นภาษีซื้อต้องห้าม ที่สามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายได้

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา


1. หลักเกณฑ์อย่างไร ที่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

2. อย่างไรเป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะเอกสารไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน

3. รายจ่ายต้องห้ามเกี่ยวกับค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคา
• คิดเกิน, คิดผิด
• บันทึกบัญชีทรัพย์สินผิดประเภท

4. จ่ายค่าทำสวน ซื้อรูปประดับอาคาร สร้างศาลพระภูมิ, ทำห้องพระลงรายจ่ายได้หรือไม่

5. ผลขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน
• ขายทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด
• ผลขาดทุนจากการลงทุน ลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
• ผลขาดทุนจากการขายรถยนต์นั่งที่ต้นทุนเกิน 1 ล้าน

6. ปัญหาด้านรายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หาและค่ารับรอง
• การให้สินค้าตัวอย่างกับลูกค้าเฉพาะรายจะลงรายจ่ายได้หรือไม่
• การพาลูกค้าไปเลี้ยงเกิน 2,000 บาท
• การให้ลูกค้ามาใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
• รายจ่ายที่เกี่ยวกับค่าพาหนะของลูกจ้างที่ออกไปรับรองลูกค้า
• รายจ่ายที่เกี่ยวกับค่าสมาชิกสนามกอล์ฟ, พาลูกค้าไปสปา
• การให้รางวัลกับลูกค้าบางราย

7. ปัญหาการตัดหนี้สูญ, หนี้สงสัยจะสูญ

8. ปัญหาเงินบริจาคและรายจ่ายเพื่อสาธารณะประโยชน์
• ประเด็นที่นักบัญชีมักเข้าใจผิด…อย่างไรเป็นรายจ่ายเพื่อกุศลสาธารณะ
• การบริจาคเงินให้กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล/ การบริจาคให้ส่วนราชการที่เป็นรายจ่ายต้องห้าม • ทำอย่างไรให้ลงเป็นรายจ่ายได้
• การให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาเองโดยไม่ผ่าน สถาบันการศึกษา
• การนำสินค้าที่ล้าสมัยไปบริจาค
• การนำทรัพย์สินเก่าที่ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วบริจาคลงรายจ่ายได้หรือไม่
• การลงรายจ่ายเพื่อการศึกษาให้ได้ 2 เท่า
• การลงรายจ่ายเพื่อการกีฬาที่ได้เพิ่มขึ้น
9. ประเด็น HOT ! รายจ่าย CSR : ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมทำอย่างไรไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม
• รายจ่าย CSR คืออะไร
• ทำอย่างไร ถึงจะไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม

10. ปัญหาการต่อเติม, ปรับปรุง ซ่อม บำรุงทรัพย์สิน

11. ค่าปรับ, ค่าภาษีที่บริษัทจ่ายไปจะลงรายจ่ายได้หรือไม่

12. ภาษีซื้อที่มีสิทธิขอคืนแต่ไม่ขอคืนจะเลือกไปลงค่าใช้จ่ายแทนได้หรือไม่

13. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกรรมการและพนักงาน
 การให้ค่าตอบแทนกรรมการเพิ่มขึ้นจากเงินเดือน
• พนักงานเซ็นใบลาออกแต่ยังมีการจ่ายเงินเดือนอยู่
• จ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานโดยดูจากผลประกอบการในแต่ละปี
• การโอนหุ้นให้พนักงานโดยไม่มีค่าตอบแทน
• การเลี้ยงอาหารกลางวันพนักงานทุกคนในบางโอกาส
• จ่ายค่าที่พัก, ห้องเช่า, สร้างหอพักพนักงาน, ซื้อคอนโดให้กรรมการ
• รถรับส่งพนักงานจากที่พักถึงที่ทำงาน
• จัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้พนักงาน
• จัดนำเที่ยวต่างประเทศให้พนักงานและครอบครัว
• พาพนักงานไปดูงานต่างประเทศ
• ส่งพนักงานศึกษาต่อต่างประเทศ

14. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบริษัทในเครือ สาขา
 Cost sharing

15. กรณีมีผลขาดทุนของกิจการ BOI ที่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีลงรายจ่ายได้หรือไม่

16. ถ้าบันทึกผลเสียหายไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น ภายหลังทราบว่ามีการทำประกันไว้ต้องทำอย่างไร

17. กรณีจ่ายเงินแทนบริษัทอื่นไปก่อนลงรายจ่ายได้หรือไม่

18. ถ้าบริษัทต้องจ้างพนักงานที่เป็นคนต่างชาติให้ทำงานที่สาขาต่างประเทศจะลงรายจ่ายที่บริษัทในไทยได้หรือไม่

19. รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

20. ปัญหารายจ่ายต้องห้ามและภาษีซื้อต้องห้ามเกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารไม่เกิน 10 ที่นั่ง
 รถตัวอย่างมีไว้ให้ลูกค้าทดลองขับ
• รถประจำตำแหน่งของกรรมการ,เซลล์

21. การตรวจสอบก่อนขอคืนภาษีซื้อ

22. ไม่มีใบกำกับภาษี, ผู้ขายไม่ยอมออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้

23. ใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์

24. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวกับกิจการ

25. ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับค่ารับรอง

26. ภาษีซื้อรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารไม่เกิน 10 ที่นั่ง
• อย่างไรเรียกว่าเป็นรถยนต์นั่ง
• ปัญหาการต่อเติม ดัดแปลงรถยนต์โดยสารให้มี10 ที่นั่ง

27. ภาษีซื้อต้องห้ามอย่างไรที่สามารถนำมาลงรายจ่ายได้

28. ปัญหาภาษีซื้อที่เกี่ยวกับส่งเสริมการขาย

29. ภาษีซื้อจากการซื้อสินค้ามาแจกลูกค้า หรือพนักงานในช่วงเทศกาลปีใหม่, ตรุษจีน, สงกรานต์

30. ภาษีซื้อข้ามเดือน

31. ภาษีซื้อจากการซื้อสินค้ามาบริจาค และการนำสินค้าเก่ามาบริจาค จะกระทบกับภาษีซื้อที่เคยขอคืนมาแล้วหรือไม่

32. ประเด็นภาษีซื้อต้องห้าม ที่สามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายได้

 

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand)หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม

หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม
เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี

** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ ไม่เป็นทางการ (นับชั่วโมงได้ตามจำนวน ชม. การเข้าอบรมจริง)
0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (CPA นับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba