เตรียมรับมือการตรวจสอบภาษีแบบเข้มข้น ประเด็นที่ถูกตรวจจริงจากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร

รหัสหลักสูตร : 21/8020/2

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,350 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 6,099 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เตรียมรับมือการตรวจสอบภาษีแบบเข้มข้น ประเด็นที่ถูกตรวจจริง
จากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ รออนุมัติ ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ รออนุมัติ ชม.

 

วิทยากร: อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

1. วิธีการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรที่จะใช้ในปี 2567

-การใช้ระบบ AI ในการตรวจสอบภาษี

2. วิธีการประเมินสถานะและการจัดกลุ่มของสรรพากรในการตรวจสอบภาษี

- เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม กลุ่มดีและกลุ่มเสี่ยงเป็นอย่างไร ใช้อะไรเป็นเกณฑ์การแบ่ง

- การตรวจแนะนําของสรรพากรจะมีผลต่อการตรวจสอบภาษีในอนาคตหรือไม่

 

3. กลุ่มประเภทธุรกิจที่จะถูกสรรพากรเข้าตรวจสอบอย่างเข้มข้นมีธุรกิจใดบ้าง

- กลุ่มซื้อมาขายไป

- กลุ่มกิจการผลิต

- กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง

- กลุ่มบริการ

4. จุดที่สรรพากรจะตรวจสอบจากทุกภาษี

- ประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สรรพากรจะตรวจสอบ

- ประเด็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย

- ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม

- ประเด็นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์

5. ความสําคัญของการยื่นงบการเงินและแบบแสดงรายการทางภาษีที่นักบัญชีต้องระวัง

- เงินสดและเงินฝากธนาคาร

- ลูกหนี้การค้า

- ลูกหนี้เงินกู้ยืม

- สินค้าคงเหลือสูงหรือต่ำไปจากข้อเท็จจริง

- การบันทึกสินทรัพย์ที่ไม่มีจริง

- เงินกู้ยืมธนาคารที่ไม่ได้บันทึกในงบการเงิน

- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

- รายได้ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่าย /มีรายได้จากการได้รับส่งเสริมการขายแต่ไม่ได้บันทึก

- มีรายได้จากการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการแต่ไม่ได้รับรู้

- ต้นทุนที่สูงหรือต่ำเกินไปทําให้สรรพากรมองเรื่องของ Transfer Pricing

- ค่านายหน้าหรือค่าส่งเสริมการขายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง

6. อะไรบ้างที่ถือเป็นความผิดปกติจากการยื่นแบบที่ระบบของสรรพากรสุ่มตัวอย่าง และสรรพากรมีวิธีการตรวจสอบอย่างไร

- รายจ่ายที่ผิดปกติอย่างไรเรียกว่าผิดปกติ (รายจ่ายเท็จ)

- ยื่นรายได้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

- มีขาดทุนสะสมต่อเนื่อง

- อัตรากําไรขั้นต้นต่ำจะถือว่าผิดปกติหรือไม่

- รายได้จากการขายสินค้ารวมการขายทรัพย์สินเข้าไปด้วยหรือไม่

- สินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดตรงกับบัญชีหรือไม่

- ให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการมีดอกเบี้ยรับหรือไม่

- ไม่มีทรัพย์สินหรือมีมากกว่าปกติ

- การตรวจสอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีว่าถูกต้องหรือไม่

- ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่รายได้ลด

- รายได้จากการขายทรัพย์สินนําส่งครบหรือไม่

- ภาษีขายติดลบ

- ขอคืนภาษีจํานวนมากหรือมีภาษีซื้อเยอะมากแต่ไม่เคยขอคืนภาษีเลย

- การขอคืนภาษีเป็นเงินสด

- ยื่นเสียภาษีเท่ากันทุกปีจะเป็นประเด็นในการตรวจสอบหรือไม่

7. นโยบายของผู้บริหารจะมีผลกับการตรวจสอบของสรรพากรอย่างไร

- การตั้งสํารองสินทรัพย์ด้วยค่าเผื่อหนี้สูญจะมีผลกับทางภาษีอย่างไร

- การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีทําให้ค่าเสื่อมราคาสูงขึ้นแต่กระแสเงินสดลดลง

- ลูกหนี้ค้างรับเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบจากปีที่ผ่านๆมา

- มีการขยายระยะเวลาการชําระหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าในปีก่อน

- ใช้เงินสดเป็นหลัก

8. การขอคืนภาษีมีผลต่อการตรวจสอบภาษีอย่างไรหรือไม่

เมื่อระบบแจ้งว่ามีความผิดปกติสรรพากรจะตรวจสอบทุกกรณีที่ระบบแจ้งหรือไม่

- สิ่งที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องเตรียมเมื่อถูกตรวจสอบ

- เอกสารที่ต้องเตรียมให้สรรพากรตรวจสอบ

- ข้อกฎหมายที่ต้องเตรียมเมื่อต้องชี้แจง

- วิธีการสอบยันเอกสารของสรรพากร

- ในกรณีที่สรรพากรเปรียบเทียบรายได้ที่เป็นกิจการประเภทเดียวกัน บางบริษัทรายได้เยอะ บางบริษัทรายได้น้อย จะมีผลในการประเมินภาษีอย่างไรหรือไม่

9. เมื่อสรรพากรร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ สถาบันทางการเงิน บริษัทเอกชน สำนักงานบัญชีผู้ประกอบการต้องระมัดระวังอย่างไรในการเสียภาษี

- การนำส่งข้อมูลการเสียภาษีให้สรรพากร

 


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba